เคล็ดลับ วิธีการบำรุงผิวพรรณ ในวันสุดสัปดาห์

มาผ่อนคลายในวันหยุดสุดสัปดาห์ กันนะค่ะ

ขั้นตอนแรกต้องเตรียม ก็คือ

เกลือ

มะขามเปียก 1 ปั้น

ผงขมิ้นชัน (ในส่วนผสมอาจจะมี ขมิ้นชัน - ไพล - ว่านนางคำ)

นมสด

อาบน้ำโดยไม่ต้องใช้สบู่นะค่ะ

1. นำเกลือมาขัดผิวเบาๆ ไล้ให้ทั่วตัว เกลือมีสรรพคุณในการชำระ
คราบไคลและเปิดรูขุมขน กำจัดแบคทีเรียบางชนิด เมื่อขัดจนทั่วแล้ว

ล้างออกด้วยน้ำธรรมดา ผิวจะนุ่มเนียนขึ้นเลยค่ะ


2. นำมะขามปั้นแกะเอาใยแข็งๆออก ผสมน้ำนิดหน่อย ชโลมผิวและค่อยๆขัดนวดเบาๆ

ช่วยลดรอยด้านตาม ข้อศอก เข่า และจุดด่างดำ ทำให้ผิวนุ่มค่ะ ขัด

ผิวจนทั่วตัวก็ล้างออกด้วยน้ำธรรมดา เช็ดตัวให้แห้ง


3. นมสด ชโลมผิว นมมีคุณสมบัติบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม ชุ่ม
ชื้น






4. พร้อมกับนำผงขมิ้น ค่อยๆขัดผิวให้ทั่วตัวใช้เวลามากน้อยตามความต้อง
การได้เลยค่ะ แล้วก็ล้างออกด้วยน้ำธรรมดา ผิวคุณก็จะนวลเนียน นุ่ม ผุดผ่อง
เลยละค่ะ ถ้าผงขมิ้นเราผสมผงไพลเข้าไปด้วยจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
หอมกลิ่นไพลด้วยค่ะ

หลังการบำรุงผิวด้วยขมิ้น ตามเล็บมือและผิวคุณอาจจะมีสีเหลืองติดตัวอยู่ ควรใส่เสื้อผ้าที่มีสีเข้มนะค่ะ หากเราพักผ่อนอยู่ในบ้านตลอดทั้งวันก็จะไม่ต้องกังวลกับความเหลืองของขมิ้นนัก เมื่ออาบน้ำฟอกสบู่ครั้งต่อไปก็จะหายไปแล้วล่ะค่ะ

มา บำรุงผิว กันเถอะ สูตรลับ ความงาม

ผิวหน้า ขาว สดใส ไร้ริ้วลอย แบบที่ผู้หญิงทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะมีครีมบำรุงผิวดีๆ ราคาจะแพงขนาดไหน ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็พอใจที่จะหาซื้อกันมาบำรุงผิว หรือไม่ก็ไปเข้าครอส ตามสถาน เสริมสวย ต่างๆ

แต่วันนี้เรามีวิธีบำรุงผิวง่ายๆ สามารถทำเองจากที่บ้าน ลองหาวันว่างๆ สักวันในหนึ่งสัปดาห์ มาผ่อนคลายไปกับการบำรุงผิวกันเถอะค่ะ

ครีมนม ต้านริ้วรอย


ชงชา (จะชาธรรมดา หรือผง ชาเขียว ก็ได้ค่ะ)


ประมาณ 1 ถ้วยกาแฟ แช่ทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 1 ช.ม. จากนั้นก็ผสมกับ

ครีมนม 3 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกผิวประมาณ 10 นาที

แล้วค่อยล้างออก
แล้วเราก็จะได้ผิวเนียนนุ่ม และผ่อนคลายไปกับกลิ่นชาหอมๆ เป็นการพักผ่อนได้ดีมากๆเลยค่ะ

วิปปิ้งครีมเพื่อผิวนุ่มทั่วเรือนร่าง


วิปปิ้งครีม 1 ถ้วย น้ำมันจมูกข้าว 1 ช้อนชา (ถ้าไม่มีก็ใช้ น้ำมันดอกทานตะวัน หรือ น้ำมันมะกอก ก็ได้ค่ะ )
ผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาลูบไล้ให้ทั่วเรือนร่าง ทิ้งไว้ 10 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็น ( น้ำธรรมดาๆ นั่นน่ะค่ะ)

ผิวคุณจะนุ่มเนียน อย่างน่าประทับใจ

นมผสมคาร์โมไมล์ มาส์กผิวได้ทุกแบบ

ดอกคาโมไมล์(แบบแห้ง) หรือ ดอกเก๊กฮวย 1 กำมือ แช่ทิ้งไว้ในนมที่อุ่นถึง



ค่อนข้างร้อน ปิดฝาภาชนะ และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

จากนั้นนำมาผสมกับ รำข้าว 1 ช้อนโต๊ะและ น้ำผึ้ง 1/2 ช้อนชา
คนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันแล้วนำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้สัก 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น
(นมช่วยให้ผิวหน้าชุ่มชื้น ดอกคาร์โมไมล์ หรือ เก๊กฮวย ให้ความหอมผ่อนคลาย รำข้าว ช่วยขจัด เซลล์ผิวเก่า น้ำผึ้งช่วยให้ผิวเต่งตึง) ลองไปทำกันดูนะค่ะ

ครีมนม เพื่อ ผมสวยเก๋


ครีมนม 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันจมูกข้าว (หรือ น้ำมันมะกอก) 1 ช้อนชา


น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมให้เข้ากัน

แล้วนำมา นวด หมักผม และหนังศรีษะให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออก (เส้นผมจะนุ่ม นิ่ม ชวนน่าสัมผัสมากเลยค่ะ)

นม ผสม มะนาว เพื่อดวงตาที่สดใส

นมสด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำชา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 2-3 หยด คนให้เข้ากัน แล้วนำสำลีแผ่น
มาชุบ 2 แผ่น บีบพอหมาดๆ จากนั้นก็นำมาวางบนเปลือกตา
ประมาณ 10 นาที
(ถ้าสำลีชุ่มมาก ระวังน้ำนมผสมมะนาวจะเข้าตาค่ะ แสบตาแน่ๆ เราโดนมาแล้ว!)


สาวๆ ลองไปทำตามวิธีที่แนะนำไว้ข้างต้นกันดูน่ะค่ะ
หาเวลา วันว่างๆสักวันเพื่อหันมาบำรุงผิว
ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จากส่วนผสมที่สามารถหา
ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ขอให้มีความสุข กับกิจกรรมเล็กๆ
ในการบำรุงผิวสัปดาห์นี้นะค่ะ

สรรพคุณ สมุนไพร ลักษณะ

สมุนไพร บำรุงกำลัง และ อื่นๆ

ม้ากระทืบโรง : ชื่อท้องถิ่น : เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤาษี กาโร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูแขนงขนานแกมใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. ดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง
สรรพคุณตามตำรายาไทย : ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เป็นต้น

ฝางเสน : ต้นฝางเสนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางพันธุ์หนึ่ง ใบเล็กๆเป็นแถวเรียงกัน ดอกสีเหลืองมีแซมสีแดง ดอกใหญ่มาก ดอกร่วงก็จะเกิดเป็นฝักสีน้ำตาลแก่เป็นจุดๆในเปลือกฝัก กิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมคม แก่นเป็นสีแดงเข้ม รสออกขมๆ

รสและสรรพคุณ : เนื้อไม้ฝาง แก้ท้องร่วง ตุพิการ แก้ร้อนใน กระหายน้ำแก้เสมหะ ขับระดูแก่นฝาง บำรงธาตุในสตรี ขับหนอง แก้ท้องร่วง ท้องเสีย


กำแพง 7 ชั้น : ชื่อท้องถิ่น ลุ่มนก, ตะลุ่มนก, หลุมนก (ใต้), น้ำนอง, มะต่อมไก่ (เหนือ)

ลักษณะ : เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ มีเส้นวงสีดำซ้อนกัน 7-9 ชั้น ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายและโคนแหลม ลักษณะเหมือนเถาตาไก้ (ตาไก่) แต่วงรอบต้นตาไก้จะห่างกว่าและไม่ถึง 7 ชั้น เนื้อกำแพงเจ็ดชั้นจะเข้มและแน่นกว่า
สรรพคุณ : เถา รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ ทำให้ร้อนแก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู


เถาวัลย์เปรียง : มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth
ชื่อท้องถิ่น : เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสน ย่านเหมาะ
มีลักษณะเป็น : ไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย รูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่องดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด
สรรพคุณ : แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดอกเหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง


ชะเอมไทย : ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth. วงศ์ : Leguminosae - Mimosoideae

ชื่ออื่น : ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณ : ราก - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ เนื้อไม้ - บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้ไอขับเสมหะ ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเลา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน

ผักพื้นบ้าน สมุนไพรใกล้ตัว

ผักพื้นบ้าน

คือ พรรณพืชพื้นบ้านในท้องถิ่นชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหาร
เป็นยารักษาโรค ผักพื้นบ้านนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว
ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีรสยาหลากหลาย
อยู่ในผักพื้นบ้าน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
ให้ความสำคัญกับรสอาหารพื้นบ้าน ดังนี้

รสฝาด มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย เช่น
ยอดมะม่วง ยอดมะกอก

ยอดจิก ยอดกระโดน ฯลฯ
รสหวาน มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เช่น
เห็ด ผักหวานป่า
น้ำเต้า บวบ ฯลฯ
รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยา คือ แก้ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ เช่น

กระเทียม ข่า ขิง

กระชาย ขมิ้น พริกไทยอ่อนฯลฯ

รสเปรี้ยว มีสรรพคุณทางยา คือ ขับเสมหะ ช่วยระบาย เช่น

ยอดมะขามอ่อน มะนาว

ยอดชะมวง มะดัน ยอดผักติ้ว ฯลฯ
รสหอมเย็น มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย เช่น

เตยหอม โสน

ดอกขจร ผักบุ้งไทย ฯลฯ
รสมัน มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงเส้นเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น
สะตอ ขนุขอ่อน
ถั่วพู ฟักทอง

กระถิน ชะอม ฯลฯ

รสขม มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ช่วยระบาย เช่น

มะระขี้นก ดอกขี้เหล็ก

ใบยอ สะเดา
ผักโขม ฯลฯ